หลักสูตรเทียบโอนประสบการณ์
1. หลักการและเหตุ
สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
มาตรา 15 กำหนดให้การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบและอัธ
ยาศัยจากการฝึกอาชีพ ประสบการณ์ชีวิตหรือจากประสบการณ์ทำงานประกอบกับปัจจุบันโลกไร้พรมแดนเป็นยุค
ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี สภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้ประชาชนนักศึกษาม
ีโอกาสหาความรู้ได้หลากหลายวิธี มีแห่งให้ศึกษาหาความรู้ มีอุปกรณ์ช่วยในการศึกษาหลากหลาย การเรียน
รู้เกิดได้ทุกสถานการณ์ เช่น การทำงาน การพบปะสังสรรค์ การเข้าร่วมกิจกรรม ชมรม กีฬา อาสาสมัคร กิจ
กรรมทางศาสนาและสังคม ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดนอกชั้นเรียนดังกล่าวไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิตจะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถพัฒนาสมรรถนะตนจน
ได้วุฒิ ปวช. หรือ ปวส. ที่มีมาตรฐานแต่ละวิชาอย่างชัดเจนในระยะเวลาที่น้อยกว่านักศึกษาที่ศึกษาในระบบเพียง
อย่างเดียว
การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เป็นการยอมรับผลการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ ดังนั้นการจัดการ
ศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาประชาชนสามารถ
นำความรู้และประสบการณ์มาขอรับการประเมินเทียบโอน เพื่อยกเว้นการเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่เข้าเรียน
และนับเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตร ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดังกล่าว
สำหรับการเทียบโอนผลการเรียนรายวิชา / กลุ่มวิชาในหลักสูตรเดียวกันหรือต่างหลักสูตรซึ่งเป็นการ
จัดการศึกษาในระบบและนอกระบบ สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
2. วัตถุประสงค์
เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษานำความรู้และประสบการณ์มาทำการประเมินเทียบโอนเข้าสู่หน่วยกิต เป็นการยอมรับความรู้และประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3. ด้านอื่น ๆ
1) บุคลากรของสถานประกอบการหรือหน่วยงานของทางราชการหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตระหนักในการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะตนตลอดเวลา
2) การเรียนรู้ การฝึกเฉพาะด้านที่จำเป็นต่องานในหน้าที่ ช่วยประหยัดเวลาได้มาก เพื่อไม่ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งผู้ขอเทียบโอนและสถานศึกษา
กลุ่มวิชา หมายถึง รายวิชาในกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในหมวดวิชาสามัญหรือรายวิชาในกลุ่มวิชาแต่ละสาขาวิชาชีพตามโครงสร้างของหลักสูตร
4. หลักเกณฑ์การขอประเมินเทียบโอนความรู้ประสบการณ์
4.1 คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน
4.1.1 เป็นนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาที่เปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) หรือตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
4.1.2 มีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ในรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ขอประเมิน
โดยมีหลักฐานทแสดงถึงความรู้ประสบการณ์
4.2 เงื่อนไขการขอรับการประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิต
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น (ปวส.)
4.2.1 นักศึกษาลงทะเบียนเพื่อประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ได้ไม่เกิน 2 ใน 3 ของจำนวนหน่วยกิต
ตามโครงสร้างหลักสูตร
4.2.2 นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในงานอาชีพ หรือฝึกงานในสถานฝึกอาชีพหรืองานในงานอาชีพนั้นอยู่แล้ว หรือมีความรู้ในรายวิชาตามหลักสูตรดังกล่าวก่อนเข้าเรียนหรือเข้าเรียนแล้วแต่ขอไปเรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานฝึกอาชีพ จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ในภาคเรียนนั้นอีกไม่ได้ แต่สามารถลงทะเบียนในภาคเรียนนั้นได้หรือสามารถขอรับคำแนะนำจากคณะกรรมการเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขอรับการ
ประเมินในภาคเรียนเรียนต่อไป
4.3 วิธีการประเมินเพื่อเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ดำเนินการดังนี้
4.3.1 การประเมินเบื้องต้น
1) พิจารณาหลักฐานที่ทางราชการและ / หรือสถานประกอบการออกให้ เช่น ใบสำคัญ วุฒิบัตร เกียรติบัตร หนังสือรับรองของสถานประกอบการ รางวัล ฯลฯ
หลักฐานที่นำมาแสดง พิจารณาเงื่อนไข ดังนี้
- หลักฐานต้องมีอายุ ไม่เกิน 5 ปี นับถึงวันขอประเมิน หรือให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาถ้าเป็นหลักฐานที่ภาคเอกชนออกให้ต้องเป็นภาคเอกชนที่ประกอบการ
ถูกต้องตามกฎหมาย
- รายวิชา / กลุ่มวิชาที่เสนอขอให้ประเมินจะต้องมีจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงาน และ/หรือฝึกอบรมไม่น้อยกว่าชั่วโมงของรายวิชาที่กำหนดไว้ และมีสมรรถนะหรือเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับ
รายวิชากลุ่มรายวิชา / กลุ่ม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
- พิจารณาข้อมูลการสัมภาษณ์เบื้องต้น
- 1. นักศึกษายื่นคำร้องขอเทียบโอนผลการเรียนที่งานวัดผลฯ ภายในเวลาที่วิทยาลัยฯ กำหนด
- 2. คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน ทำการพิจารณาเทียบโอนผลการเรียนที่ต้องทำการประเมินใหม่ในรายวิชาใด ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน ไม่น้อยกว่า 3 คน ดำเนินการประเมิน
- 3. คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนส่งผลการเทียบโอนงานวัดผล ดำเนินการเสนอขออนุมัติผลการเรียนเทียบโอนต่อไป
- 4. งานทะเบียนบันทึกผลการเรียนในระเบียบแสดงผลการเรียน โดยใช้รหัสวิชาและชื่อวิชาขออนุมัติหลักสูตรที่เทียบโอน
- นักศึกษาที่ประสงค์จะขอประเมินเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์ ต้องลงทะเบียนเพื่อประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ตามวัน เวลา ที่สถานศึกษากำหนด โดยชำระเงินค่าลงทะเบียนตามระเบียนหรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเก็บเงินบำรุงการศึกษา และต้องได้รับความเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ควบคุมการฝึกแล้วแต่กรณี
- นักศึกษาจะต้องนำหลักฐานที่เชื่อได้ว่าได้ผ่านการฝึกอบรม หรือฝึกงาน หรือทำงานหรือมีอาชีพในรายวิชาที่ขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ไปแสดงประกอบการลงทะเบียนสอบก่อนชำระเงินเพื่อลงทะเบียนประเมิน
- ให้สถานศึกษามอบหมายให้คณะกรรมการประเมินความรู้และประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าสาขา ผู้สอนหรือครูฝึกในสาขารวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้ทำเครื่องมือประกอบการประเมินให้ครอบคลุมมาตรฐานและเนื้อหาวิชาที่สำคัญในแต่ละบทเรียน พร้อมกำหนดเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์การตัดสินผลการประเมินด้วย
- คณะกรรมการการประเมินควรดำเนินการให้สอดคล้องกับการเรียนการฝึกของรายวิชาดังกล่าว หากรายวิชานั้นมีเฉพาะภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติให้ประเมินอย่างเดียว การประเมินผลการเรียนรายวิชาในสถานศึกษาโดยอนุโลม
- กำหนดเวลาทำการประเมินรายวิชา ตามข้อ 4 ไม่น้อยกว่าเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
- สถานศึกษา กำหนดวัน เวลา สถานที่ประเมิน และแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า
- การขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จะกระทำในภาคเรียนเดียวกันหมด หรือจะขอประเมินในแต่ละภาคเรียนจนหมดหรือครบกำหนดตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดให้ หรือจะขอประเมินบางรายวิชาเท่านั้น
- การประเมินเทียบโอนประสบการณ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษาแต่ละราย