บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปีการศึกษา 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ปีการศึกษา 2561
1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.1 ผลสัมฤทธิ์
ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา
1.1 การดูแลและแนะแนวผู้เรียน ค่าคะแนน 4 ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.3 ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ
ค่าคะแนน 3 ระดับคุณภาพ ดี
1.4 ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย
ค่าคะแนน 4 ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
1.5 ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.6 ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.7 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาV-NET
ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.8 การมีงานทําและศึกษาต่อของผู้สําเร็จการศึกษา
ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินด้านที่ 1 ร้อยละ 95.60 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชาปรับปรุงรายวิชาเดิม
หรือกําหนดรายวิชาเพิ่มเติม ค่าคะแนน 4 ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
2.2 การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
2.2.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
2.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินด้านที่ 2 ร้อยละ 94 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ด้านที่ 3 ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
3.1 ครูผู้สอน
3.1.1 การจัดการเรียนการสอน ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3.1.2 การบริหารจัดการชั้นเรียน ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3.1.3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3.2.1 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
3.2.2 การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินด้านที่ 3 ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ด้านที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม
4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
4.2 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
4.3 การบริการชุมชนและจิตอาสา ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
สรุปผลการประเมินด้านที่ 4 ร้อยละ 100 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ด้านที่ 5 ด้านปัจจัยพื้นฐาน
5.1 อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรือ งานฟาร์ม ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
5.2 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
5.3 แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา ค่าคะแนน 5 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
5.5การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ค่าคะแนน 4 ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
สรุปผลการประเมินด้านที่ 5 ร้อยละ 96 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
สรุปภาพรวม ร้อยละ 96.8 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1.2 จุดเด่น
- จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. มีผลการประเมินระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
- สถานศึกษามีแผนงานและดำเนินงานโครงการที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ที่ชัดเจน เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อนักเรียนนักศึกษา
- สถานศึกษามีการมอบหมายให้ชมรมวิชาชีพดำเนินงานโครงการให้สอดคล้องเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
- สถานศึกษาและแผนกวิชาให้การสนับสนุนผู้เรียน ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะอย่างเต็มที่ อันนำไปสู่การประกวดและแข่งขันทักษะวิชาชีพในแต่ละระดับ
- ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะวิธีการให้ผู้เรียน อันนำไปสู่ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการเข้าประกวดและแข่งขันทักษะวิชาชีพ
- สถานศึกษาดำเนินโครงการเพิ่มผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ส่งผลให้ร้อยละในปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560
- การติดตามผู้สำเร็จการศึกษามีหลากหลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ เฟสบุ๊ค เพื่อนร่วมห้อง บิดา มารดาของผู้สำเร็จการศึกษา ฯลฯ
- สถานศึกษามีการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาหลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เนื่องจากข้อมูลของผู้สำเร็จการศึกษามีการเปลี่ยนแปลง เช่น รองานใหม่ รอเกณฑ์ทหาร ฯลฯ
- ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชาและจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมคุณลักษณะที่พึงประสงค์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการจำแนกรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลายแผนกำหนดการใช้ สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ที่่เหมาะสมและมีการกำหนดแนวทางวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
- ครูมีคุณวุฒิตรงตามสาขาวิชาที่สอน
- ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้และมีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพจัดการเรียนรู้และแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
- ครูผู้สอนมีการจัดทำข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลรวมทั้งมีข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำห้องเรียน
- ครูผู้สอนใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการชั้นเรียนให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และช่วยเหลือผู้เรียนในรายวิชาที่สอน
- ครูผู้สอนทุกท่านจัดทำแผนพัฒนาตนเองในปีการศึกษา 2561 ครบทุกคนและเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองอย่างน้อย 12 ชั่วโมง/ปี
- คณะผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนบุคคลภายนอก และตัวแทนนักเรียนนักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2562 โดยใช้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา
- สถานศึกษาได้รับความร่วมมือในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนโดยมีแนวโน้มที่มากขึ้นในทุกปีการศึกษา
- สถานศึกษามีแผนงาน โครงการในการระดมทรัพยากรที่หลากหลายในการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- สถานศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูรวมทั้งครูฝึกในสถานประกอบการ
- สถานศึกษามีจำนวนหนังสือให้บริการเพียงพอต่อการเข้าใช้บริการและสืบค้น
- การให้บริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุมทั่วพื้นที่ที่มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ต
1.3 จุดที่ควรพัฒนา
- ติดตามผู้เรียนระดับ ปวช. อย่างสม่ำเสมอ เพราะมีผลการประเมินระดับคุณภาพ ปานกลาง
- ประชาสัมพันธให้ผู้สำเร็จการศึกษากรอกข้อมูลในแบบสอบถามการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาให้ครบถ้วนชัดเจน และเขียนด้วยลายมือตัวบรรจง โดยเฉพาะหมายเลขโทรศัพท์ของผู้สำเร็จการศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อความสะดวกในการติดตาม
- การปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะหรือปรับปรุงรายวิชาเดิม ให้ทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
- ครูผู้สอนบางท่านยังไม่ได้เข้าอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง เนื่องจาก หัวข้ออบรมไม่ตรงกับสาขาวิชาชีพของครู
- เครื่องคอมพิวเตอร์บางห้องล้าสมัยใช้งานมานาน
- ส่งเสริมอาชีพตามความต้องการของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้คิด ได้ทำและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง สร้างจิตสำนึกให้ทุกคนมีจิตอาสา
- ขาดระบบการสืบค้นด้วยตนเอง
- ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ให้รองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
1.4 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
- จัดทำแผนงาน โครงการที่ส่งเสริมด้านพัฒนาภูมิปัญญาไทย และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้ทุกชมรมวิชาชีพดำเนินการ เพื่อให้ครอบคลุมจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งหมดภายในสถานศึกษา
- แผนกวิชาควรส่งเสริมแนะนำให้ผู้เรียนสนใจและเข้ามาสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยให้มากขึ้น
- สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของผู้เรียนมากขึ้น
- จัดทำแผนงาน โครงการที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น
- เพิ่มจุดแข็งในการเป็นนักศึกษาระบบทวิภาคีโดยพัฒนาสู่ตลาดแรงงานสากล
2. การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสถานประกอบการ
3. การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่บรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด
1. การจัดการศึกษาหลักสูตรทวิศึกษา ร่วมกับโรงเรียนศรีพฤฒา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจนถึงปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 49 คน
2. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ โดยเปิดสอน 5 สาขาวิชา มีนักเรียนนักศึกษาทั้งสิ้น 262 คน
3. การเปิดสอนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจนถึงปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 51 คน
4. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
ความร่วมมือในการจัดการศึกษาระดับสากล
ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัจจุบันการพัฒนาด้านการเรียนการสอนของสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความร่วมมือ หรือการสร้างเครือข่ายในการศึกษากับองค์กรต่างๆ ที่หลากหลายทั้งในภาครัฐบาล ภาคเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างบุคลากรและนักเรียนของแต่ละสถาบัน รวมทั้งเป็นการยกระดับการใช้เทคโนโลยีด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานในปัจจุบัน นอกจากนั้นการดำเนินงานต่างๆ จะทำให้เกิดการยอมรับของหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้นักเรียนนักศึกษามีโอกาสประสบผลสำเร็จในการศึกษาต่อและทำงานมากขึ้น วิทยาลัยจึงเห็นสมควรมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนโครงการดังกล่าว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ด้านวิชาชีพของครูและนักเรียนในระดับสากล
2. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยี ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
3. เพื่อสร้างโอกาสให้ครูและนักเรียนนักศึกษาในการปรับตัวและพัฒนาให้เข้ากับโลกของการประกอบอาชีพในปัจจุบันมากขึ้น
วิธีดำเนินงาน
1. ศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลเอกสาร บุคคล หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักความร่วมมือ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร วิทยาลัยต่างๆ สถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
3. จัดทำความร่วมมือบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถานศึกษาหรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง
4. เตรียมความพร้อมครูและนักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
5. ดำเนินโครงการตามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU)
6. ประเมินผลและรายงานผลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินงาน
1. การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิวุฒิ (Co-certificate) ร่วมกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ท่าน นักศึกษา 14 คน
2. การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนด้านการเรียนการสอน ภาษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศกับประเทศสหพันธรัฐอินโดนีเซีย ณ เมืองเคดิริ (Kediri) มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ท่าน นักเรียนนักศึกษา 4 คน
3. การส่งครูอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านแอนนิเมชั่นและมัลติมีเดีย ณ Hebei Software Institute ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ท่าน
4. การส่งครูอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านแอนนิเมชั่นและมัลติมีเดีย ณ Jewjiang Technical College ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ท่าน นักเรียน 7 คน
5. การส่งนักเรียนอบรมหลักสูตรระยะสั้นสาขา e-Commerce มหาวิทยาลัยหมิงเต้า (Mingdao University) ไต้หวัน มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ท่าน นักเรียน 15 คน
6. การส่งนักเรียนอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านภาษาจีน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีครูเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ท่าน นักเรียน 5 คน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ครูและนักเรียนนักศึกษามีความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ
2. ครูและนักเรียนนักศึกษามีความรู้ความสามารถ ทักษะทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสารในอาชีพและทั่วไป
3. ครูและนักเรียนนักศึกษาสามารถปรับตัวในการทำงานและการดำรงชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมและสถานการณ์ต่างๆ
4. วิทยาลัยได้รับความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ด้านวิชาชีพในระดับสากล
5. วิทยาลัย ครูและนักเรียนนักศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มากขึ้น